วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกครั้งที่ 11
วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น.

วันนี้ดิฉันนำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนรู้เรื่องจำนวนมากกว่าน้อยกว่า
เนื้อหา ให้เด็กได้นับจำนวนสิ่งของจริงๆ เช่น หลอด ไม้ไอศครีม เมื่อเด็กรู้จำนวนแล้วให้เด็กนำเลขไปวาง เพื่อให้เด็กรู้ค่าและสามารถเชื่อมโยงได้ระหว่างจำนวนกับตัวเลข หลังจากนั้นเด็กก็จะรู้ค่าจำนวนว่าสองจำนวนไหนมีค่ามากกว่ากัน

สรุป เนื่องจากเด็กนับเลขด้วยปากเปล่าได้แต่ไม่รู้ค่าจำนวนว่ามีค่าเท่าได การให้เด็กได้นับจากของจริงจึงทำให้เด็กเข้าใจง่ายกว่า เห็นอย่างไรเด็กก็บอกอย่างนั้น

จำนวนสิ่งของ ➨  เลขฮินดูอารบิก  ➨ เด็กรูัค่ามากกว่าน้อยกว่า

    การสอนควรทำให้เด็กเชื่อมโยงชีวิตประจำวันได้ ควรมีการเลือกหน่วยการเรียน เช่น หน่วยผัก หน่วยผลไม้ การสอนเด็กปฐมวัยควรสอนแบบบูรณาการเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ทุกด้านอย่างครอบคุลมและเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ มากกว่าการสอนแบบรายวิชา ส่วนการแบบนับจำนวนดังที่กล่าวมาในตัวอย่างการสอนเป็นเพียงเทคนิควิธีการที่นำไปเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ สู่คณิตศาสตร์เท่านั้น

คนต่อไปคือ นางสาวปวีณา  พันธ์กุล นำเสนอบทความเรื่อง ฉลาดเรียน ฉลาดเล่น สอนลูกจากของในครัว  สิ่งที่ลูกจะได้รับจากการทำอาหารร่วมกับแม่ในครัว คือ 
1.ด้านร่างกาย  เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
2.ด้านอารมณ์- จิตใจ  เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบผลงานของตนเอง
3.ด้านสังคม  เด็กได้พูดคุยมีปฏิสัมพันธ์กับแม่
4.ด้านสติปัญญา  ได้คิดคำนวนเรื่องเวลา ปริมาณ  การหั่นรูปทรงเรขาคณิตศาสตร์ต่างๆ

   ➨ ควรให้เด็กมีส่วนร่วมเลือกอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อที่เด็กจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีความกล้าและความเชื่อมั่น นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ 
 บทบาทของครูคือ อยากให้เด็กเรียนรู้อะไร อยู่ที่การออกแบบของครู หน้าที่ของครูคือการแนะนำและอำนวยความสะดวก ความพร้อม วางแผนต่างๆ

คนที่ 3 คือ นางสาวณัฐชา  บุญทอง  นำเสนอบทความเรื่อง เลขคณิตคิดสนุกจากกิจกรรมในบ้าน
กิจกรรมที่ 1 ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลี่ร่วมกัน  ได้ใช้ทักษะการวัด ตวง ส่วนผสม 
กิจกรรมที่ 2 การประดิษฐ์กล่องขวัญ  ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้แบบลงมือทำ


 ได้รับประโยชน์จากบทความใช้ในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

บรรยากาศ
สนุกสนาน เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังและตอบคำถามอาจารย์อย่างตั้งใจ ช่วงท้ายอาจารย์มีกิจกรรมให้ทำเพื่อนๆทุกคนก็ตั้งใจทำงาน และใช้ความคิดของตนเอง

ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายและมีการซักถามเพื่อความเข้าใจ ระหว่างการเรียนการสอนอาจารย์ก็จะอธิบายเพิ่มเติมและมีกิจกรรมที่หลากหลายและสร้างสรรค์ให้ทำ








บันทึกครั้งที่ 10
วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น.
เนื้อหาที่เรียน
 วันนี้เป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาเมื่อคาบที่ผ่านมา คือเรื่องมาตรฐานคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ อาจารย์ได้อธิบายทวนอีกครั้งเพื่อความเข้าใจและหลังจากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ วิจัย และตัวอย่างการสอน

นางสาวชาณิศา   หุ้ยทั่น  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่  ปริญญานิพนธ์ ของ กมลรัฒน์   กมลสุทธิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาการศึกษาปฐมวัย ปี 2555

ความมุ่งหมาย : เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลักการทดลองสูงกว่าการทดลอง

สรุปผลการวิจัย : ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิคศาสตร์ ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและรายด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การเรียงลำดับและการนับ
                                                          ♡♡♡♡♡♡♡

 นางสาวรัติยากร   ศาลาฤทธิ์  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ   โดย กาญจนา ทับผดุง และ สุภาวิณี  สัตยาภาณ์  
หน่วยแผนการสอนจะเป็นดังนี้ 
1. บ้านน่าอยู่ จำนวน 5 ชั่วโมง
2. สัตว์น่ารู้    จำนวน 5 ชั่วโมง
3. อาชีพที่ควรรู้จัก  จำนวน 5 ชั่วโมง
4. ฤดูกาล     จำนวน 5 ชั่วโมง
♡♡♡♡♡♡♡

นางสาวสุภาภรณ์   วัดจัง  นำเสนอวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคป  

♡♡♡♡♡♡♡

นางสาววิจิตรา   ปาคำ  นำเสนอตัวอย่างการสอนเรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวเด็ก โดยครูอัมพรรณี สาลีวรรณ์  เป็นการสอนกิจกรรมหลักทั้ง 6 อย่าง เกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติรอบตัวเด็ก สอดคล้องกับคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับ การเปรียบเทียบ การจำแนก การเรียงลำดับ

                                                          ♡♡♡♡♡♡♡

นางสาวปรางทอง   สุริวงษ์  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร   โดย ศุภนันท์   พลายแดง  วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปี 2553
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ : เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 จำนวน 30 คน
สรุป : การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสามารถส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุก ๆ ด้านให้แก่เด็กปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับ 


การนำมาประยุกต์ใช้
               - เป็นแนวทางที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์ที่มีความเหมาะให้กับเด็กต่อไปนอนาคต
               - ได้รู้จักการทำวิจัย ตัวอย่างการสอน และบทความที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนการสอน และการประกอบอาชีพครูปฐมวัยในอนาคต



➨เนื่องจากวันนี้ดิฉันมีธุระติดเข้าอบรม กยศ กับเพื่อนอีก 6 คน จึงไม่ได้เข้าเรียนในวันนี้ได้  ดิฉันจึงสรุป Blogger โดยดูแบบอย่างจากนางสาวปรางทอง  สุริวงษ์




  

         


บันทึกครั้งที่ 9
วันพุธ ที่ 14 มีนาคม 2561 เวลา 08.30-12.30 น.



เนื้อหาที่เรียน

สาระสำคัญและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
มาตรฐาน เกณฑ์ที่กำหนด เอาไว้ประเมิน เกณฑ์ขั้นต่ำ
มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก 

สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
-บอกปริมาณจำนวนสิ่งของ ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเช่น การนับจำนวนเด็กในห้อง ให้เด็กนับและยกมือขึ้นค้างไว้ เพื่อให้เด็กเห็นการเพิ่มขึ้นทีละ 1 ของจำนวนตามลำดับ  (ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ)
-การบอกจำนวนสิ่งต่างๆ ต้องกำหนดจุดเริ่มต้น แล้วจึงจัดลำดับ
-การรวมตัว การรวมเป็นการนับรวมของสองอย่างขึ้นไป
-การแยก นับแยกสิ่งต่างๆออกจากกลุ่ม

สาระที่2 การวัด

การวัดความยาวสิ่งต่างๆตามแนวนอน การวัดส่วนสูงเป็นการวัดแนวตั้ง 
-การวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
สาระที่3 เรขาคณิต
รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง 
-จำแนกรูปเรขาคณิต

สาระที่4 พีชคณิต

เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์

สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และการนำเสนอ

สาระที่6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

มีทักษะกระบวนการคิดและทักษะในการแก้ไขปัญหา







ทักษะที่ได้รับ
ได้รู้ว่ากรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์กำหนดไว้มีกี่สาระและแนวทางการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กควรจัดอย่างไรเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

บรรยากาศในห้องเรียน 
เพื่อนๆ มาเรียนครบและตรงต่อเวลาทุกคน หลังจากที่อาจารย์สั่งงานเพื่อนๆก็ตั้งใจทำงานส่งและคิดกิจกรรมของตนเอง มีการพูดคุยสอบถามและเปลี่ยนกันความคิดกัน
ประเมินตนเอง 
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำงานส่งทันเวลา
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ระหว่างการเรียนการสอนอาจารย์จะสอบถามเพื่อเปิดโอกาสและกระตุ้นให้นักศึกษาคิด หากไม่เข้าใจอาจารย์ก็อธิบายเพื่อเติม





บันทึกครั้งที่ 8 
 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561



                                เป็นสัปดาห์ของการสอบ จึงไม่มีการเรียนการสอน