วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 6
วันพุธ ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561   เวลา 08:30 - 12:30 น.




  
    กิจกรรมแรก เพื่อน 3 คน ออกมานำเสนองาน นางสาวอรอุมา ศรีท้วม นำเสนอบทความเรื่องคณิตศาสตร์กับชีวิตโดยสรุปว่า คณิตศาสตร์มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมให้เกิดการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานในการหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดชิ้นงานต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อสิ่งที่บุคลต้องการให้เป็นไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่เกิดขึ้น







      นางสาวขนิษฐา  สมานมิตร นำเสนอวิจัย เรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยผ่านการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สรุป เด็กได้รับทักษะ 4 ด้าน 
1.ด้านร่างกาย  การพิมพ์ภาพ การระบายสี กล้ามเนื้อมัดเล็ก 
2.ด้านอารมณ์-จิตใจ การชื่นชมผลงาน 
3.ด้านสังคม พูดคุยกัน
4.ด้านสติปัญญา ภาษา สังเกตสิ่งรอบ ๆ ตัวเรื่องของสีรูปทรง รูปร่าง พื้นผิวพื้นที่ว่าง น้ำหนัก อ่อน-แก่    ของสี

ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์ 
1.การนับ  การนับจำนวน
2.ตัวเลข  ฮินดูอารบิก-ไทย
3.การจับคู่  เหมือนกัน สัมพันธ์กัน ตรงข้ามกัน
4.การจัดประเภท ใช้ลักษณะเป็นเกณฑ์
5.การเปรียบเทียบ  หาค่าในเชิงปริมาณ
6.การจัดลำดับ การเรียงลำดับตามความต้องการ โดยจะเป็นการเรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
7.รูปทรงและเนื้อที่  
8.การวัด  ใช้เครื่องมือต่างๆ
9.เซต  สิ่งที่สัมพันธ์กัน เช่น เซตอาหาร
10.เศษส่วน  การแบ่ง เช่น แบ่งเค้กเป็นส่วนๆ 
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย  เช่น อนุกรม
12.การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ  ลักษณะที่เท่าเดิม
   🌝🌝🌝🌝
หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวการจัดประสบการณ์
1.เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของจริง
2.เริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ ใกล้ตัว
3.สร้างความเข้าใจมากกว่าจำ
4.คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันเพื่อขยายประสบการณ์
5.จัดกิจกรรมให้เด็กเกิดความสนุก
6.จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก แล้วสรุปเกณฑ์เนื้อหาเพื่อจัดลำดับท้าย
7.จัดกิจกรรมทบทวน ตั้งคำถามให้คิดซ้ำ

ความรู้ทางคณิตศาสตร์ตามหลักของเพียเจย์ 2 ชนิด
1.ความรู้ทางด้านกายภาพ
                  2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์
  
หลักการของเพียเจย์→ธอนไดท์
-เรียนจากของจริง สอนจากรูปธรรมไปนามธรรม (สัญลักษณ์)
-เรียนจากง่ายไปยาก เชื่อมโยงชีวิตจริง
-สร้างความเข้าใจมากกว่าจำ
-สร้างคำถามปลายเปิด


ทักษะที่ได้รับ

หลักการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย 
ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์มี 5 เรื่อง และนำหลักการจัดประสบการณ์มาใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็ก

บรรยากาศในห้อง

เพื่อนๆตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อนที่ออกมานำเสนอ และตอบคำถามอาจารย์

ประเมินวิธีการสอน

อาจารย์อธิบายหลังจากที่เพื่อนนำเสนอไปแล้ว เพราะอาจจะมีบางเรื่องที่ไม่เข้าใจทำให้เข้าใจดี เวลาสอนอาจารย์จะอธิบายและยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้นหลังจากเรียนเสร็จ อาจารย์ก็เปิดโอกาสให้ถามเพื่อทบทวนความเข้าใจ