➨ สรุปงานวิจัย
ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่เลนเกมการศึกษาเนนเศษสวนของรูปเรขาคณิต
ปริญญานิพนธ์ของ ปณิชา มโนสิทธยากร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จุดมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตก่อน และ
หลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง จำนวน 30 คน อายุ 5 – 6 ปี
ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนจิ้นเตอะ
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
1. กิจกรรมเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วน จำนวน 60 กิจกรรม
2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 50 ข้อ
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
• การจำแนกเปรียบเทียบ
• การจัดหมวดหมู่
• การเรียงลำดับ
• การบอกตำแหน่ง
• การรู้ค่าจำนวน
วิธีการดำเนินการทดลอง
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ทำการทดลองเป็น
เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที ทำการทดลองในช่วงเวลา
13.00-13.40 น. รวม 24 ครั้ง ครั้งละ 2 ถึง 3 เกม มีลำดับขั้นตอน
ขั้นตอนดำเนินการทดลอง
1. ทำการทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยใช้ระยะเวลาการทดลองในการเล่นเกมการศึกษา
เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
3. หลังการเสร็จสิ้นการทดลอง ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง (Posttest)
กับกลุ่มตัวอย่าง
โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ฉบับเดียวกับแบบทดสอบที่ใช้ก่อนการทดลอง
แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด
4. นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
สรุปผลการวิจัย
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรม
เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนของ
รูปเรขาคณิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้าน หลังการจัดกิจกรรม
เกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตอยู่ในระดับดี โดยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ สูงขึ้นในรายด้าน คือ ด้านการเรียงลำดับเป็นอันดับแรก ด้านการเปรียบเทียบเป็นระดับ
ที่สอง ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการบอกตำแหน่ง ด้านการรู้ค่ารู้จำนวน ตามลำดับ