วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 5
วันศุกร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561   เวลา 08:30 - 12:30 น.


   วันนี้เพื่อนเลขที่ 4 5 6 ออกมานำเสนองานวิจัย ตัวอย่างการสอนและบทความกันต่อจากอาทิตย์ที่แล้วพร้อมฟังคำอธิบายและข้อเสนอแนะจากอาจารย์

บทความที่เพื่อนนำเสนอคือการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย 
     ผลการวิจัย เด็กปฐมวัยมีความชอบ และมีความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน มีความกระตือรือร้น และสนใจที่จะเล่น ส่วนการประเมินพัฒนาก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 17.66 คิดเป็นร้อยละ 58.89 และคะแนนเฉลี่ยของการประเมินพัฒนาการหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 25.83 คิดเป็นร้อยละ 86.11 แสดงให้เห็นว่าการจัดประสบการณ์โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทยนั้นช่วยให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้ดีขึ้น

           

จากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น กระดาษเหลือ 5 แผ่น แสดงว่าจำนวนกระดาษมากกว่าจำนวนคน จึงเขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้


โดยที่การส่งกระดาษเป็นแบบจับคู่ 1:1 คือ 1 คนต่อ 1  แผ่น






การสำรวจความชอบอาหารอีสานระหว่างส้มตำกับลาบไก่ คือการจับคู่แบบ 1 : 1 เป็นการเปรียบเทียบเรื่องจำนวนมากกว่าน้อยกว่า ผลสรุปคือ คนที่ชอบส้มตำมีจำนวนมากกว่าลาบไก่

➨ ต้องสร้าง concept ให้เด็กเรียนแบบเข้าใจไม่ท่องจำเพราะการท่องจำน่าเบื่อและทำให้เด็กกลัวคณิตศาสตร์

เราใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เพื่อการเปรียเทียบในการตัดสินใจ 

ทักษะที่ได้รับ

คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน การสอนคณิตศาสตร์เด็กต้องสร้าง concept ให้เด็กเข้าใจเรียนแบบสนุกสนานจัดกิจกรรมที่มีความเหมาะสม สอนทีละเรื่อง ไม่ควรสอนแบบการท่องจำ 


บรรกาศในห้องเรียน

   สนุกสนานไม่เครียด เพื่อนๆตั้งใจฟัง

 ประเมินวิธีการสอน


              อาจารย์พยายามกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดและสอนการจัดกิจกรรมการจัด
ประสบการณ์คณิตศาสตร์ที่หลากหลายเพื่อเป็นแนวทางในการจัดประการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้เด็กต่อไป