วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 16
วันเสาร์ ที่ 28  เมษายน พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน
                     การนำเสนอสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ทำจากถามรองไข่ มีดังนี้  

กลุ่มที่ 1
นางสาววสุธิดา  คชชา และนางสาววิภาพร  จิตอาคะ ได้นำเสนอเนื้อหาในรูปแบบพาเวอร์พอยท์และสรุปพฤติกรรมเด็กได้อย่างสมบูรณ์ 

กลุ่มที่ 2
นางสาวสุภาวดี  ปานสุวรรณ และนางสาวบงกชกมล ยังโยมร นำเสนอสื่อเรขาคณิตและได้สรุปเนื้อหาจากการอธิบาย และคลิปวิดีโอ

กลุ่มที่ 3
นางสาวปวีณา  พันธ์กุล และนางสาวณัฐธิดา  ธรรมแท้  นำเสนอสื่อในรูปแบบคลิปวิดีโอ มีการสาธิตการเล่นสื่อแบบอนุกรม ได้ฟังคำแนะนำจากอาจารย์ในการปรับแก้สื่อ และวิธีการเล่น  คือการเพิ่มโจทย์ในการกำหนดให้เด็กเล่นอนุกรม

กลุ่มที่ 4
นางสาวณัฐชา  บุญทอง  และนางสาวอรอุมา  ศรีท้วม นำเสนอสื่อเรื่อง เกม บวก ลบ มหาสนุก ซึ่งได้อธิบายวัสดุอุปกรณ์  ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนการเล่น  และให้ชมคลิปวิดีโอ ปรับแก้ด้านการนำเสนอ 

กลุ่มที่ 5
นางสาวกิ่งแก้ว  ทนนำ นำเสนอสื่อเดี่ยว เรื่องเครื่องชั่งในการนำเสนอมีเนื้อหาสมบูรณ์ ครบถ้วน มีภาพการนำเสนอที่น่าสนใจ
กลุ่มที่ 6

นางสาวสุภาภรณ์  วัดจัง และนางสาวสุจิณณา  พาพันธ์  นำเสนอสื่อรูปทรงยืดหยุ่น นำเสนอสื่อรูปทรงยืดหยุ่น มีคลิปวิดีโอ แต่ยังขาดเนื้อหาใจความที่สมบูรณ์ อาจารย์ให้คำแนะนำในการถ่ายคลิป การนำเสนอและการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็ก



กลุ่มที่ 7
นางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์ และนางสาวปรางทอง  สุริวงษ์ นำเสนอสื่อเรื่องตกปลาได้เลข

กลุ่มที่ 8
นางสาวอุไรพร  พวกดี และนางสาวชานิศา  หุ้ยทั่น นำเสนอสื่อการสอนเรื่องขนาดของหลอด

กลุ่มที่ 9
นางสาววิจิตรา  ปาคำ นำเสนอสื่อการสอนเรื่องรูปเรขาคณิตและสี มีการอธิบายวิธีการและการสังเกตเด็กจากคลิปวิดีโอ

กลุ่มที่ 10
นางสาวสุพรรณิการ์  สุขเจริญ  และนางสาวอภิชญา  โมคมูล นำเสนอสื่อการสอนเรื่องจับคู่สีรูปภาพ 


สื่อการสอนคณิตศาสตร์เกม ภูเขาไฟระเบิด 



สรุปความรู้ที่ได้จากการฟัง  ได้เห็นความคิดสร้างสรรค์ของเพื่อนและเห็นข้อแตกต่างของการสร้างสื่อใหม่ๆ รวมไปทั้งข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข แม้กระทั่งการนำเสนอควรจัดออกแบบอย่างไรให้น่าสนใจ  การทำงานสอดคล้องกับสมอง  สมองรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สอดคล้องสัมพันธ์กันเป็นความรู้ใหม่

                   💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛
งานที่ได้รับมอบหมาย 

→  สร้างรูปร่างและรูปทรงเรขาคณิตจากตามจินตนาการโดยอาจารย์กำหนดวุสดุอุปกรณ์คือดินน้ำมันกับไม้จิ้มฟัน 


💛 รูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสที่ทำจากดินน้ำมันและไม้จิ้มฟัน             💛 รูปร่างสี่เหลี่ยมจตุรัส

➨ กิจกรรมคณิตศาตร์ที่ผูู้ปกครองเล่นกับลูก (งานคู่)
กิจกรรม กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการทำอาหาร การเข้าครัวนอกจากลูกจะเรียนรู้เรื่องการทำอาหารชนิดต่างๆแล้ว ยังสามารถสอนคณิตศาสตร์ได้จากการวัด ตวง ชั่ง ส่วนผสมต่างๆ แม้กระทั่งการหั่นผัก ผลไม้เป็นรูปทรงต่างๆ ทำให้ลูกสนุกเพลิดเพลินไปกับการออกแบบการทำอาหาร

 ทักษะที่ได้รับ
- การเตรียมความพร้อม ในการนำเสนอต้องมีเนื้อหาชัดเจนครบถ้วน มีการเรียบเรียงคำพูดหรือวิธีการที่ถูกต้องสามารถนำไปใช้ได้ให้เกิดประโยชน์

 การนำมาประยุกต์ใช้
- การเตรียมความพร้อม การวางแผน และความคิดสร้างสรรค์
- การสังเกตพฤติกรรมในการเขียนแบบบันทึกไม่ควรใส่อารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียน
             
ประเมินวิธีการสอน    
อาจารย์ฟังการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม พร้อมให้คำแนะนำเรื่องการนำเสนอและการเขียนบันทึกพฤติกรรมเด็กอย่างละเอียด  

**เนื่องจากวันเสาร์ที่ 28 เมษษยน 2561ดิฉันติดธุระจึงไม่สามารถเข้าเรียนชดเชยได้ จึงได้จัดทำบล็อค โดยดูรูปแบบการจัดทำบล็อคของ นางสาวณัฐชา บุญทอง **