➨ สรุปบทความ
เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
โดยผศ.ดร.ชลาธิป สมาหิโต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การส่งเสริมคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆนั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมุ่งที่คำตอบของคำถามเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจว่าคณิตศาสตร์คือทักษะที่ต้องทำซ้ำ ทำบ่อย ไม่ใช่ว่าฝึกครั้งสองครั้งพอลูกทำไม่ได้ก็โมโหโกรธาลูกเสียยกใหญ่ เพราะฉะนั้นการจะให้ลูกตอบได้ในครั้งเดียวนั้นถือเป็นการคาดหวังที่มากจนเกินไป
สิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่กระบวนการคิดที่ได้มาของคำตอบต่างหาก ที่สะท้อนว่าเด็กๆ มีวิธีคิดอย่างไร
เข้าใจ Mathematical Skill เด็กวัยอนุบาล
1.เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์ ใช้ระบบสัญลักษณ์ (ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้) แทนตัวเลข
2.เด็กวัยอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก
3.ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม
ภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ เขาจะใช้ภาษาในการถามคำถามและตอบคำถาม และจะนำมาซึ่งกระบวนการคิดและตอบคำถามอย่างถูกต้อง
วิธีเสริมการเรียนเลข ความรู้คณิตศาสตร์ให้ลูกอนุบาล
กลยุทธ์ 1 เรียนรู้จำนวนจากสิ่งของ: ให้เด็กได้นับจากสิ่งของจริงๆ เขาจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าจำนวนแต่ละตัวมีค่าเท่าไร
Tip : เขียนเลขบนกระดาษแผ่นใหญ่ แล้วนำสิ่งของที่เด็กๆ ชอบ เช่น หุ่นตัวจิ๋ว คุกกี้ กิฟต์ติดผม เป็นต้น มาชวนกันเล่นเกมวางตามจำนวน โดยนำสิ่งของวางลงตามจำนวนในบัตรภาพ
กลยุทธ์ 2 สังเกตสร้างทักษะ นำสิ่งของรอบตัวเด็กๆ มาเชื่อมโยงกับเรื่องของคณิตศาสตร์
Tip : นำกล่องนมที่มีรูปทรงต่างๆ เช่น กล่องสี่เหลี่ยมใหญ่และเล็ก ทรงสูงและทรงกว้าง มาชวนเด็กๆ เล่นเกมจัดกลุ่ม โดยจัดกลุ่มกล่องนมแต่ละชนิดให้อยู่ในหมวดหมู่ที่มีขนาดและรูปทรงที่เหมือนกัน
กลยุทธ์ 3 เรียงภาพสร้างสรรค์ พื้นฐานของวัยนี้จะสามารถเรียงสิ่งของได้ 3 ชุด เด็กๆ
Tip : เขียนเลขบนกระดาษแผ่นใหญ่ แล้วนำสิ่งของที่เด็กๆ ชอบ เช่น หุ่นตัวจิ๋ว คุกกี้ กิฟต์ติดผม เป็นต้น มาชวนกันเล่นเกมวางตามจำนวน โดยนำสิ่งของวางลงตามจำนวนในบัตรภาพ
กลยุทธ์ 2 สังเกตสร้างทักษะ นำสิ่งของรอบตัวเด็กๆ มาเชื่อมโยงกับเรื่องของคณิตศาสตร์
Tip : นำกล่องนมที่มีรูปทรงต่างๆ เช่น กล่องสี่เหลี่ยมใหญ่และเล็ก ทรงสูงและทรงกว้าง มาชวนเด็กๆ เล่นเกมจัดกลุ่ม โดยจัดกลุ่มกล่องนมแต่ละชนิดให้อยู่ในหมวดหมู่ที่มีขนาดและรูปทรงที่เหมือนกัน
กลยุทธ์ 3 เรียงภาพสร้างสรรค์ พื้นฐานของวัยนี้จะสามารถเรียงสิ่งของได้ 3 ชุด เด็กๆ
กลยุทธ์ 4 สั้น-ยาว การวัดความสั้น-ยาวของสิ่งของนั้น เด็กๆ จะยังไม่ทราบค่าของหน่วยมาตรฐาน ลองมองหาของใช้ภายในบ้านให้เขาได้เปรียบเทียบความยาวว่า อันไหนยาวกว่ากัน อันไหนยาวที่สุด อันไหนสั้นที่สุด
Tip : เล่นขบวนรถไฟแสนสนุก ลองหาแท่งสี่เหลี่ยมภายในบ้านจะเป็นบล็อกไม้หรือกล่องอะไรก็ได้ขนาดเท่ากัน สัก 9 กล่อง แบ่งเป็นรถไฟขบวนละ 3 กล่อง (เป็นหัวจักรและตู้พ่วง 2 ตู้) แล้วลองให้เขาต่อรถไฟแต่ละขบวนสั้น-ยาวสลับ
คณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่ตัวเลข
คณิตศาสตร์ ถือเป็นพื้นฐานวิชาหรือพื้นฐานในการเรียนรู้สาระวิชาอื่นๆ ในขั้นสูงต่อไปในอนาคต
ซึ่งคุณต้องเข้าใจนะครับว่า ‘คณิตศาสตร์ไม่ใช่ตัวเลข’ แต่คณิตศาสตร์เป็นตรรกะอย่างหนึ่ง
ซึ่งจะทำให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะจัดการปัญหาได้อย่างมีเหตุผล และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น