วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกครั้งที่ 10
วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น.
เนื้อหาที่เรียน
 วันนี้เป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาเมื่อคาบที่ผ่านมา คือเรื่องมาตรฐานคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ อาจารย์ได้อธิบายทวนอีกครั้งเพื่อความเข้าใจและหลังจากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ วิจัย และตัวอย่างการสอน

นางสาวชาณิศา   หุ้ยทั่น  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่  ปริญญานิพนธ์ ของ กมลรัฒน์   กมลสุทธิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาการศึกษาปฐมวัย ปี 2555

ความมุ่งหมาย : เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลักการทดลองสูงกว่าการทดลอง

สรุปผลการวิจัย : ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิคศาสตร์ ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและรายด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การเรียงลำดับและการนับ
                                                          ♡♡♡♡♡♡♡

 นางสาวรัติยากร   ศาลาฤทธิ์  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ   โดย กาญจนา ทับผดุง และ สุภาวิณี  สัตยาภาณ์  
หน่วยแผนการสอนจะเป็นดังนี้ 
1. บ้านน่าอยู่ จำนวน 5 ชั่วโมง
2. สัตว์น่ารู้    จำนวน 5 ชั่วโมง
3. อาชีพที่ควรรู้จัก  จำนวน 5 ชั่วโมง
4. ฤดูกาล     จำนวน 5 ชั่วโมง
♡♡♡♡♡♡♡

นางสาวสุภาภรณ์   วัดจัง  นำเสนอวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคป  

♡♡♡♡♡♡♡

นางสาววิจิตรา   ปาคำ  นำเสนอตัวอย่างการสอนเรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวเด็ก โดยครูอัมพรรณี สาลีวรรณ์  เป็นการสอนกิจกรรมหลักทั้ง 6 อย่าง เกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติรอบตัวเด็ก สอดคล้องกับคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับ การเปรียบเทียบ การจำแนก การเรียงลำดับ

                                                          ♡♡♡♡♡♡♡

นางสาวปรางทอง   สุริวงษ์  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร   โดย ศุภนันท์   พลายแดง  วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปี 2553
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ : เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 จำนวน 30 คน
สรุป : การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสามารถส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุก ๆ ด้านให้แก่เด็กปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับ 


การนำมาประยุกต์ใช้
               - เป็นแนวทางที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์ที่มีความเหมาะให้กับเด็กต่อไปนอนาคต
               - ได้รู้จักการทำวิจัย ตัวอย่างการสอน และบทความที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนการสอน และการประกอบอาชีพครูปฐมวัยในอนาคต



➨เนื่องจากวันนี้ดิฉันมีธุระติดเข้าอบรม กยศ กับเพื่อนอีก 6 คน จึงไม่ได้เข้าเรียนในวันนี้ได้  ดิฉันจึงสรุป Blogger โดยดูแบบอย่างจากนางสาวปรางทอง  สุริวงษ์




  

         


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น