วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 16
วันเสาร์ ที่ 28  เมษายน พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน
                     การนำเสนอสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ทำจากถามรองไข่ มีดังนี้  

กลุ่มที่ 1
นางสาววสุธิดา  คชชา และนางสาววิภาพร  จิตอาคะ ได้นำเสนอเนื้อหาในรูปแบบพาเวอร์พอยท์และสรุปพฤติกรรมเด็กได้อย่างสมบูรณ์ 

กลุ่มที่ 2
นางสาวสุภาวดี  ปานสุวรรณ และนางสาวบงกชกมล ยังโยมร นำเสนอสื่อเรขาคณิตและได้สรุปเนื้อหาจากการอธิบาย และคลิปวิดีโอ

กลุ่มที่ 3
นางสาวปวีณา  พันธ์กุล และนางสาวณัฐธิดา  ธรรมแท้  นำเสนอสื่อในรูปแบบคลิปวิดีโอ มีการสาธิตการเล่นสื่อแบบอนุกรม ได้ฟังคำแนะนำจากอาจารย์ในการปรับแก้สื่อ และวิธีการเล่น  คือการเพิ่มโจทย์ในการกำหนดให้เด็กเล่นอนุกรม

กลุ่มที่ 4
นางสาวณัฐชา  บุญทอง  และนางสาวอรอุมา  ศรีท้วม นำเสนอสื่อเรื่อง เกม บวก ลบ มหาสนุก ซึ่งได้อธิบายวัสดุอุปกรณ์  ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนการเล่น  และให้ชมคลิปวิดีโอ ปรับแก้ด้านการนำเสนอ 

กลุ่มที่ 5
นางสาวกิ่งแก้ว  ทนนำ นำเสนอสื่อเดี่ยว เรื่องเครื่องชั่งในการนำเสนอมีเนื้อหาสมบูรณ์ ครบถ้วน มีภาพการนำเสนอที่น่าสนใจ
กลุ่มที่ 6

นางสาวสุภาภรณ์  วัดจัง และนางสาวสุจิณณา  พาพันธ์  นำเสนอสื่อรูปทรงยืดหยุ่น นำเสนอสื่อรูปทรงยืดหยุ่น มีคลิปวิดีโอ แต่ยังขาดเนื้อหาใจความที่สมบูรณ์ อาจารย์ให้คำแนะนำในการถ่ายคลิป การนำเสนอและการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็ก



กลุ่มที่ 7
นางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์ และนางสาวปรางทอง  สุริวงษ์ นำเสนอสื่อเรื่องตกปลาได้เลข

กลุ่มที่ 8
นางสาวอุไรพร  พวกดี และนางสาวชานิศา  หุ้ยทั่น นำเสนอสื่อการสอนเรื่องขนาดของหลอด

กลุ่มที่ 9
นางสาววิจิตรา  ปาคำ นำเสนอสื่อการสอนเรื่องรูปเรขาคณิตและสี มีการอธิบายวิธีการและการสังเกตเด็กจากคลิปวิดีโอ

กลุ่มที่ 10
นางสาวสุพรรณิการ์  สุขเจริญ  และนางสาวอภิชญา  โมคมูล นำเสนอสื่อการสอนเรื่องจับคู่สีรูปภาพ 


สื่อการสอนคณิตศาสตร์เกม ภูเขาไฟระเบิด 



สรุปความรู้ที่ได้จากการฟัง  ได้เห็นความคิดสร้างสรรค์ของเพื่อนและเห็นข้อแตกต่างของการสร้างสื่อใหม่ๆ รวมไปทั้งข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข แม้กระทั่งการนำเสนอควรจัดออกแบบอย่างไรให้น่าสนใจ  การทำงานสอดคล้องกับสมอง  สมองรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สอดคล้องสัมพันธ์กันเป็นความรู้ใหม่

                   💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛
งานที่ได้รับมอบหมาย 

→  สร้างรูปร่างและรูปทรงเรขาคณิตจากตามจินตนาการโดยอาจารย์กำหนดวุสดุอุปกรณ์คือดินน้ำมันกับไม้จิ้มฟัน 


💛 รูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสที่ทำจากดินน้ำมันและไม้จิ้มฟัน             💛 รูปร่างสี่เหลี่ยมจตุรัส

➨ กิจกรรมคณิตศาตร์ที่ผูู้ปกครองเล่นกับลูก (งานคู่)
กิจกรรม กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการทำอาหาร การเข้าครัวนอกจากลูกจะเรียนรู้เรื่องการทำอาหารชนิดต่างๆแล้ว ยังสามารถสอนคณิตศาสตร์ได้จากการวัด ตวง ชั่ง ส่วนผสมต่างๆ แม้กระทั่งการหั่นผัก ผลไม้เป็นรูปทรงต่างๆ ทำให้ลูกสนุกเพลิดเพลินไปกับการออกแบบการทำอาหาร

 ทักษะที่ได้รับ
- การเตรียมความพร้อม ในการนำเสนอต้องมีเนื้อหาชัดเจนครบถ้วน มีการเรียบเรียงคำพูดหรือวิธีการที่ถูกต้องสามารถนำไปใช้ได้ให้เกิดประโยชน์

 การนำมาประยุกต์ใช้
- การเตรียมความพร้อม การวางแผน และความคิดสร้างสรรค์
- การสังเกตพฤติกรรมในการเขียนแบบบันทึกไม่ควรใส่อารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียน
             
ประเมินวิธีการสอน    
อาจารย์ฟังการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม พร้อมให้คำแนะนำเรื่องการนำเสนอและการเขียนบันทึกพฤติกรรมเด็กอย่างละเอียด  

**เนื่องจากวันเสาร์ที่ 28 เมษษยน 2561ดิฉันติดธุระจึงไม่สามารถเข้าเรียนชดเชยได้ จึงได้จัดทำบล็อค โดยดูรูปแบบการจัดทำบล็อคของ นางสาวณัฐชา บุญทอง **


วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 15
วันพุธที่ 25  เมษายน พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน
กิจกรรมที่1 ฟังกานำเสนอวิจัยของนางสาวรัติยากร ศาลาฤทธฺ์ เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 
สรุปดังนี้

ตัวแปรต้น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ตัวแปรตาม ทักษะทางคณิตศาสตร์
                1.การบอกตำแหน่ง
       2.การจำแนก
3.การนับ
            4.การรู้ค่าจำนวน
        5.การเพิ่ม-ลด 
เพื่อวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ที่เกิดก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ขั้นตอนการสอน
1.กระตุ้นการเรียนรู้ → ครูให้เด็กออกไปสำรวจต้นไม้ ว่ามีจำนวนกี่ต้น
2.กรองสู่มโนทัศน์   → ครูสนทนากับเด็กโดยใช้คำถาม มีขนาดเท่าไหร่ เป็นเพราะอะไร
3.การพัฒนาศิลปะ →  ครูให้เด็กๆทำกิจกรรมศิลปะ
4.สาระที่เรียนรู้       →  สรุปให้ตัวแทนออกมาอธิบายนำเสนอ

                                         
กิจกรรมที่2 เป็นการนำเสนอสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ "ถาดรองไข่" ของกลุ่มเรียน 121 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 


เกมภูเขาไฟระเบิด



เกมบวก-ลบเลขมหาสนุก





เกมตกปลา




เกมจับคู่สี ผลไ้ม้





เกมเรขาคณิตพาเพลิน



เกมยืดหยุ่นให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต




เกมจับคู่หรรษา




เกมเรียงสีและตัวเลข




ตราชั่ง (แกนกระดาษทิชชู่)




เกมวางฝาตามแบบ


ภาพรวมของสื่อ


 ทักษะที่ได้รับ
- การความสามัคคีและการช่วยเหลือเกื้อกลูกัน ช่วยเพื่อนแก้ไขปรับแต่งบางชิ้นงาน
- การวางแผนกันภายในกลุ่มและห้อง ช่วยกันจัดพื้นที่ให้พร้อมสำหรับการนำเสนอ
- ความคิดสร้างสรรค์สร้างผลงานที่หลากหลาย

 การนำมาประยุกต์ใช้
- การนำเศษวัสดุเหลือใช้นำมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ ในอนาคตหากเป็นครูต้องรู้จักมองทุกอย่างๆมีคุณค่า และรู้จักสร้างสื่อการสอนจากวัสดุเหลือใช้เพื่อลดค่าใช้จ่าย

 บรรยากาศในห้องเรียน
- บรรยากาศในห้องสนุกสนานมากหลังจากที่ฟังการนำเสนอวิจัยของเพื่อน ทุกคนก็เตรียมตัวจัดพื้นที่ และตื่นเต้นในการนำเสนอผลงานของตนเอง
             
ประเมินวิธีการสอน    
อาจารย์สอนให้ตระหนักถึงการใช้ประโยชน์จากของเหลือใช้ และสร้างสรรค์ผลงานที่หลากหลายกระตุ้นให้นักศึกษาสร้างผลงานตามจินตนาการความคิดของตัวเอง บางงานที่ยังไม่สมบูรณ์อาจารย์ก็ช่วยเสนอแนะให้คำแนะนำในการทำ  


💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙


วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561



บันทึกครั้งที่ 14
วันพุธ ที่ 17 เมษายน 2561  เวลา 08.30-12.30 น.


การเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคู่ออกมานำเสนอสื่อคณิตศาสตร์ที่ทำจากแผงไข่พร้อมกับให้คำแนะนำเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับแก้ไขเพื่อความสมบูรณ์ของสื่อ  

                                              
  อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น เพื่ิอทำการทดสอบตอบคำถาม 6 ข้อ โดยให้ตอบเท่าที่รู้ เพื่อวัดความรู้และส่งเสริมการเรียน
1.เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
2.การอนุรักษ์ หมายถึง
3.เมื่อไหร่ที่รู้ว่าเด็กผ่านขั้นอนุรักษ์
4.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของเด็ก
5.สาระที่ 6 ประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง มีการกำหนดมาตรฐานหรือไม่
6.คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย จะรู้อะไรบ้าง
เมื่อแต่ละคนทำเสร็จอาจารย์ให้นำออกไปวางเรียงกันที่หน้าชั้นเรียน




การประเมินทักษะทางคณิตศาสตร์จากการสอนการจัดประสบการณ์
การวัดและประเมิน → เพื่อรู้ค่า วัดก่อนประเมิน 
 เครื่องมือการวัด การสังเกต สนทนา ดูชิ้นงาน ทำแบบทดสอบ เพื่อหาค่าไปเปรียบเทียบกับพัฒนาการมาตรฐานในหลักสูตร แล้วนำมาประเมินผล เพื่อนำมาปรับปรุงการสอนวางแผนช่วย
ทักษะที่ได้รับ
               - การวางแผน
               - การทำงานร่วมกับผู้อื่น
               - การช่วยกันทำงาน

          การนำมาประยุกต์ใช้
               - การวางแผน 
               - การคิด เหลือเด็ก และยังเป็นการสื่อสารกับผู้ปกครองให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็ก
               - การรับฟังความเห็นของผู้อื่น

บรรกาศในห้องเรียน

   สนุกสนานไม่เครียด เพื่อนๆตั้งใจฟังการนำเสนอสื่อ ถึงจะมีบางครั้งคุยเสียงดังบ้างแต่ก็ช่วยกันคิิดและแนะนำกันดี

 ประเมินวิธีการสอน


              อาจารย์แนะนำวิธีการทำสื่อและเสนอแนะวิธีการแก้ไขต่างๆให้นักศึกษาเข้าใจเป็นอย่างดี ทดสอบคำถามเพื่อการกระตุ้นให้คิดและวัดความรู้ที่มีความเข้าใจเนื้อหาสาระต่างๆ

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกครั้งที่ 13
วันพุธ ที่ 4 เมษายน 2561  เวลา 08.30-12.30 น.


การนำเสนอวิจัยของ นางสาวสุจิณณา  พาพันธ์ เรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ขั้นตอนรูปแบบการจัดประสบการณ์ มี 4 ขั้น ตัวอย่างหน่วยเงิน
                                                  ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ  
                                      1.ให้เด็กฟังเสียงเหรียญที่อยู่ในกล่อง
                                      2.เด็กอธิบายลักษณะของสิ่งที่อยู่ในกล่อง
                                      3.เด็กร่วมกันแยกประเภทของเงิน
                                      4.เด็กเลือกเงินคนละ 1 ชนิด 
                                      5.ครูให้คำถามปลายเปิด
                                                  ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน
                                      6.ครูทำกิจกรรมเปิดขายสินค้าราคาถูก 
                                      7.เด็กๆจับกลุ่มเลือกสินค้ามาขาย
                                                  ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัิกิจกรรม
                                      8.นำของมาวางขาย และออกแบบร้านร่วมกัน
                                                  ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน
                                      9.ทำบัญชี ราคาเท่าไหร่


➨วิธีการเรียนรู้ของเด็กสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง ความรู้ใหม่ที่ไม่ได้แสดงออกมาคือการรับรู้ ส่วนที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมคือการเรียนรู้

การนับแลการดำเนินการ
(มีอยู่ 1 เพิ่มขึ้นอีก 1 เป็น 2 ) คำพูดที่แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างกิจกรรม การประกอบอาหาร
1.เรื่องลำดับขั้น
2.การเรียงลำดับ
ไข่➦ การแยกประเภท จัดหมวดหมู่ จำนวนย่อย จำนวนรวม
ปฏิทิน ➦ลำดับการเพิ่มขึ้น วันสำคัญ ชื่อ วันนี้  วันพรุ่งนี้  เมื่อวาน วันเกิด  หน้าที่ประจำวัน

อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำสือการสอน





ประเมินอาจารย์
การสอนทำให้นักศึกษาเข้าใจอย่างเป็นลำดับขั้นตอนรู้ที่มาที่ไปอย่างเป็นระบบ อาจารย์กระตุ้นและเปิดโอกาสให้คิดและกล้าแสดงออกทั้งเวลาการตอบคำถามและการนำเสนองานของตัวเอง 



วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกครั้งที่ 12
วันพุธ ที่ 28 มีนาคม 2561 เวลา 08.30-12.30 น.


การนำเสนอบทความของนางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์  เรื่องสอนคณิตจากชีวิตรอบตัว การสอนคณิตศาสตร์เบื้องต้นให้ลูกสามารถได้จากสิ่งรอบตัว
-สอนเรื่องตัวเลข ได้จาก นาฬิกา ปฏิทิน  เบอร์โทร อายุ เลขทะเบียน การนับ
-สอนเรื่องขนาด/ปริมาณ/น้ำหนัก  ได้จาก น้ำหนัก-ส่วนสูง การทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ ปริมาณใส่ปุ๋ยปริมาณน้ำ
-สอนเรื่องตำแหน่ง ได้จาก การปฏิบัติตามคำสั่ง บน-ล่าง ซ้าย-ขวา
-สอนเรื่องกลางวัน-กลางคืน ได้จาก กิจวัตรประจำวัน กลางคืนทำอะไร กลางวันทำอะไร
-สอนเรื่องวัน เดือน ปี ได้จาก เทศกาล งานต่างๆ
-สอนเรื่องการใช้เงิน ได้จาก การนับจำนวนเงินจับจ่ายซื้อของ การไปตลาด และเวลาเล่นของเล่น
    ➡️ เพราะคณิตศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัว สำคัญอยู่ที่เราจะนำมาใช้เมื่อไหร่



ต่อไปเป็นบทความของนางสาวสุพรรณิการ์  สุขเจริญ เรื่อง สอนลูกเรื่องจำนวนการนับตัวเลข 
วิธีการ
1.จัดบรรยากาศของบ้านให้มีตัวเลขให้ลูกเห็นผ่านตา เช่น นาฬิกา ปฏิทิน
2.เล่นนับอวัยวะในร่างกาย เช่น คนมี 1 ปาก 2 หู  2 ขา 2 แขน เป็นต้น
3.เล่านิทานที่มีเรื่องจำนวน ตัวเลข และการนับให้ลูกฟัง เช่น ลูกหมู 3 ตัว  มด 10 ตัว เป็นต้น


     การนำเสนอตัวอย่างการสอนของนางสาวมารีน่า  ดาโร๊ส เรื่อง การสอนเรื่องจำนวนและตัวเลข ครูใช้กระดาษ A4 เขียนตัวเลขให้เด็กตอบ และเขียนเป็นตัวหนังสือให้เด็กสามาระสดได้ เช่น  3  สาม ให้เด็กตอบทีละคน ถ้าเด็กตอบได้ครูก็ชมและให้กำลังใจเด็ก
    ➡️การสอนแบบนี้ยังเป็นเทคนิดและการสอนแบบรายวิชา ยังไม่บูรณาการกับชีวิตวันของเด็กและไม่มีหน่วยกิจกรรม

    การนำเสนอวิจัยของนางสาวสุภาภรณ์   วัดจัง เรื่องการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวความคิดไฮสโคป เน้น เรื่องการลงมือกระทำ เริ่มตั้งแต่เด็กเป็นคนเลือกเรื่องที่จะเรียน มี 3 ขั้นตอนคือ  1.plan    2. do  3. reviwe  ทำให้เกิดกระบวนการใช้ในการทำกิจกรรมเสรี 1.วางแผน 2.ทำ 3.พูดคุย สนุกสนาน

      สรุปวิจัย แผนการจัดประสบการณ์การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวความคิดไฮสโคป สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 78.87 %  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวความคิดไฮสโคปมีความสามารถในการคิดและแก้ไขปัญหามากขึ้น สิ่งที่วัดจากกิจกรรมดังกล่าวคือ

1 การรู้ค่าจำนวน
2 การจำแนก
3 การเรียงลำดับ
    สุดท้ายอาจารย์ให้จับคู่คิดสื่อที่สอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยทำจากแผงไข่




ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำแนะนำ ข้อคิดต่างๆ อาจารย์พยายามอธิบาย ยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นภาพและใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย